ความไร้ประโยชน์ที่สวยงาม ของ Maximal Style

หลายคนน่าจะเคยได้ยิน less is more.’ หรือ ‘น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้’ Minimalism หรือ สไตล์มินิมอล ถือเป็นคอนเซ็ปต์ที่มาแรงในกระแสนิยมการออกแบบของยุคสมัยใหม่ ทุกแขนงมาหลายปีแล้ว วันนี้ผู้เขียน จะขอพูดในด้านตรงข้ามMinimali Style นั่นก็คือ Maximal Style หรือ more is more.’ หรือ ‘มากก็คือมาก’ ยิ่งมากยิ่งสนุก

และจากคำกล่าวของ ออสการ์ไวลด์ Oscar Wilde นักกวีผู้โด่งดังชาวไอริช ได้กล่าวถึงงานศิลปะว่า ศิลปะ คือ ‘ความไร้ประโยชน์ที่สวยงาม’ ถ้าหากการมีชีวิตอยู่ของคนเรานั้นมีแค่การกินกับการนอน มันจะทำให้ภายในบ้านมีเพียงแค่โต๊ะอาหารและเตียงตั้งอยู่แค่สองอย่าง ซึ่งมองดูแล้วช่างเป็นสถานที่ที่น่าเกลียดสำหรับเขา เพราะมีเพียงแต่สิ่งที่มีประโยชน์เท่านั้น แต่กลับกัน บ้านที่เต็มไปด้วยสิ่งไม่มีประโยชน์แต่น่าดึงดูด อย่างรูปปั้น ภาพวาด กองหนังสือ เก้าอี้นุ่มสบายสักตัว และเปียโนตัวใหญ่ ดูแล้วเป็นสถานที่ที่โคตรจะสวยงามและเต็มไปด้วยชีวิตชีวา ดังนั้น ทั้งหมดนี้ก็เป็นพื้นฐานปรัชญาสุนทรียศาสตร์ หรือเรียกได้ว่าเป็น ‘สุขนิยมแบบใหม่’ และเป็นรากฐานของความเป็นแม็กซิมอลเช่นกัน Waragorn Keeranan (2019)

สำหรับตอนนี้ หากเราลองจินตนาการถึง สุขนิยมแบบใหม่ ในลักษณะความคัลเลอร์ฟลู สีสันที่ฉูดฉาด สดใส จัดเต็มไปด้วยลวดลายและเลเยอร์ต่างๆ นั่นคือ รุปแบบของสไตล์ Maximalism `เป็นสุนทรียศาสตร์ที่รวบรวมเอาความสมบูรณ์และส่วนเกินเข้าไว้ด้วยกัน โดยผสมผสานรูปแบบที่โดดเด่น สีสันสดใส และการผสมผสานระหว่างลวดลายและสไตล์เพื่อสร้างลุคที่ผสมผสานเป็นชั้นๆ มันแตกต่างโดยตรงกับการออกแบบแบบมินิมอลลิสต์ที่จะมุ่งเน้นความเรียบง่ายเป็นหลัก โดยให้ความสำคัญกับความสมบูรณ์และสบายตา

หัวใจสำคัญของความเป็นแม็กซิมอล นั้นต้องสามารถ กระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึก และตัวตนของนักออกแบบจะสะท้อน ออกมาได้อย่างชัดเจน ศิลปะแนวนี้จะเน้นตกแต่ง หรือการแสดงความคิดสร้างสรรค์ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้สิ่งนั้นหรือพื้นที่ตรงนั้นท่วมท้น ไปด้วยเรื่องราวและความทรงจำ เจิดจรัส จัดจ้าน มากมาย จนหลายครั้งเราเองก็เดาทิศทางไม่ถูกว่านักออกแบบจัดองค์ประกอบ ใส่จังหวะตรงไหนถึงสวย เส้นลาย สีรูปแบบใดต่อ แต่งานในลักษณะนี้ เมื่อใส่ลงไปในให้เยอะ บางครั้งออกแบบสวยแบบบังเอิญ หรือในทางอ้อม Maximalism จัดเป็นสุนทรียะศาสตร์ที่มอบ ‘สุขนิยมแบบใหม่’ ให้แก้แวดวงศิลปะ ซึ่งรากฐานของความเป็นแม็กซิมอล ในอดีตกลุ่มนักออกแบบที่ป๊อบ ที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ในสไตล์ Maximalism ในกลุ่มนักออกแบบที่เรียกตัวเองว่ากลุ่ม Memphis ไปได้ Memphis Group

Maximalism ในกลุ่มนักออกแบบที่เรียกตัวเองว่ากลุ่ม Memphis หรือ Memphis Group

คือกลุ่มนักออกแบบและสถาปนิกชาวอิตาเลียนที่มารวมตัวกันในช่วงปี 1981 ด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน นั่นก็คือการก่อกบฏต่อวิถีการออกแบบแบบสมัยใหม่นิยมที่แสนจำกัด น่าเบื่อ และหาหนทางการออกแบบที่ขบถขึ้น หัวรุนแรงขึ้น และมีอิสระมากขึ้น เกิดเป็นสุนทรียะแห่งยุค 80s หนึ่งในหลักฐานความป็อปสุด ๆ ของกลุ่มเมมฟิสก็คือการที่สไตล์ของพวกเขาสะท้อนออกมาในโลโก้ดั้งเดิมแรกสุดของช่อง MTV ที่เพิ่งออกอากาศครั้งแรกในปีเดียวกับที่กลุ่มเมมฟิสดังไม่หยุดซึ่งนอกจากโลโก้ของช่องเคเบิลทีวียอดฮิตนี้ และถัดมาในช่วงเวลาหลังจากนั้นกลุ่มเมมฟิสก็กระจายอยู่ในทุกพื้นที่และแทบทุกแห่งจะในทุกสิ่ง ทั้งเฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งภายใน แฟชั่น การเเบบสิ่งพิมพ์ และของใช้ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน (กฤษฎีญา ไชยศรี 2567 )

แฟชั่น แนวMaximalism

นอกจากนั้นน งานออกแบบรูปทรงเลขาคณิตเหลี่ยมมุมแสนสนุก ที่กลายเป็นภาพจำมาจนถึงปัจจุบัน และยังเป็นกระแสนิยมเข้ามาในชีวิตประจำวัน Waragorn Keeranan (2019) เราเรียกได้ว่าเกือบจะทุกอย่าง ทั้งวงการเพลงที่ฟัง หนังสือที่อ่าน และบ้านที่จัด ถ้าในแง่ของการตกแต่งบ้าน ความแม็กซิมอลคือการจัดวางหรือนำสิ่งของที่เรารักหรือพอใจเข้ามาไว้ในห้อง แม้ว่ามันจะไม่แมทช์กับอะไรเลยก็ตาม แต่เพื่อเป็นการปลุกเร้าอารมณ์ ความหลงใหล และสะท้อนตัวตน จึงไม่จำเป็นจะต้องไปสนใจในเรื่องของความเข้าคู่กันเท่าไหร่นัก หรือเรียกว่าอยากวางอะไรไว้ตรงไหนก็วางไป แบบไม่สนใจใยดีอะไร

เฟอร์นิเจอร์ การตกแต่งภายในแนวMaximalism

`ดังนั้น Maximalism จัดเป็นปรัชญาสุนทรียศาสตร์ หรือ ‘สุขนิยมแบบใหม่’ ที่นำเสนอทางเลือกที่น่าสนใจนอกเหนือ จากแนวทางMinimalism ซึ่งMaximalism เป็นการยกย่องความสวยงามอันอุดมสมบูรณ์และหลากหลาย กระตุ้นให้นักออกแบบเปิดรับสีสัน ลวดลาย และพื้นผิวอย่างกล้าหาญ การผสมผสานคอลเลกชั่นที่อยากรู้อยากเห็น สำเนียงและสไตล์อันน่าทึ่ง และรายละเอียดอันวิจิตรบรรจง ความเยอะที่ประดับประดาสูงสุดเปิดโอกาสให้ได้แสดงออกและหลุดพ้นจากกรอบความเรียบง่ายและความสวยงามแบบความธรรมดา อีกหนึ่งสไตล์ในความไร้ประโยชน์ที่สวยงามแต่เต็มไปด้วย ความสนุก จินตนาการที่สวยงามและเต็มไปด้วยชีวิตชีวาของผลงาน

อ้างอิง

https://thematter.co/social/maximalism-style/94235

https://www.facebook.com/reel/377451358572391/?mibextid=CDWPTG

https://groundcontrolth.com/blogs/43

https://thematter.co/social/maximalism-style/94235

https://cherdecor.com/blog/home-interior-design/interior-design-maximalis

--

--

ทักษิณา พรบุณยาพงศ์
ทักษิณา พรบุณยาพงศ์

Written by ทักษิณา พรบุณยาพงศ์

Asst.Prof.Dr.Thaksina Phonbunyapong สาขาวิชาที่ทำวิจัย มัลติมีเดียและภาพเคลื่อนไหว เทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารการศึกษา การออกแบบและประยุกต์ศิลป์

No responses yet