โลกของมัลติมีเดียในบริบทนิทรรศการศิลปะ

.

ปัจจุบันสื่ออนไลน์มีความสำคัญมากอาจจะถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่ห้า เพราะการสื่อสารเองก็ต้องใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดีย ที่อยู่ในรูปองค์ประกอบของการสื่อสารออนไลน์ทั้งสิ้นหรือที่เรียกว่าเทคโนโลยีการสื่อสาร ได้จัดว่าเป็นสื่ออีกชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนอข่าวสาร การขายการตลาดออนไลน์ การบริการทั้งในธุรกิจครัวเรือนและอุตสาหกรรม รายการทีวี สื่อออนไลน์ และการเรียนการสอน (Learning Content) ในยุคโควิดหรือหลังโควิดก็ตาม ตลอดจนใช้เป็นสิ่งบันเทิง (Entertainment)ที่เป็นจุดขายเทรนที่ได้รับความนิยมตลอดการ

ดังนั้นรูปแบบสื่อมัลติมีเดียต้องพัฒนาให้ตอบโจทย์อย่างสร้างสรรค์ เพราะมีความแตกต่างในการเปิดรับสื่อเฉพาะบุคคล การเพิ่มปริมาณของผู้ใช้อย่างรวดเร็ว ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี การพัฒนาระบบการคิด

สำหรับสื่อมัลติมีเดียในบริยทที่ใช้เพื่อสื่อสารในงานศิลปะ

ถือได้ว่าเป็นวิธีการถ่ายทอดงานศิลปะตามเรื่องราวแนวคิดของศิลปิน เป็นผลงานที่เป็นอัตวิสัย ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่เป็นจุดเด่นที่ควบคู่กับความต้องการความคาดหวังของผู้ชมที่สนใจผลงานของศิลปินที่สนใจไปแล้ว บทบาทของสื่อมัลติมีเดียเพื่อเป็นชิ้นงานมักจะปรากฏให้เห็นในการแสดงของด้านเรื่องราวหรือข้อมูลเพื่อสะท้อนชิ้นงาน ดังนั้นการนำสื่อไปใช้ จะอยู่ในรูปของชิ้นงานหรือข้อมูล เมื่อสื่อมัลติมีเดียก็นำมาเป็นองค์ประกอบศิลป์ ประกอบด้วย แสง สี เสียง ข้อความและภาพเคลื่อนไหวนำมาถูกสร้างให้งดงาม เป็นผลงานองค์ประกอบศิลป์ ซึ่งประกอบด้วย จุด, เส้น, รูปร่าง-รูปทรง, สี, ลักษณะผิว ส่วนประกอบต่างๆ นำมาจัดตามหลักการออกแบบ สัดส่วนของภาพ ความสมดุลของภาพ จังหวะลีลาของภาพ การเน้นหรือจุดเด่นของภาพ เอกภาพ ความขัดแย้ง ความกลมกลืน ซึ่งมีการผสมผสานกันอย่างกลมกลืน เป็นไปเพื่อเป็นชิ้นงานสร้างความสมบูรณ์ให้กับงานศิลปะและสุนทรียภาพ ความประทับใจสร้างความบันเทิง ให้แก่ผู้ชมลักษณะสื่อมัลติมีเดียเป็นองค์ประกอบศิลป์ในชิ้นงานศิลปะ

ภาพที่ 1 องค์ประกอบศิลป์สื่อมัลติมีเดียที่แสดงเรื่องราว. ที่มา: ทักษิณา พรบุณยาพงศ์. (2559)

บทบาทสื่อมัลติมีเดียใช้เพื่อองค์ประกอบด้านอุปกรณ์และสถานที่

สำหรับการใช้สื่อมัลติมีเดียสนับสนุนในงานนิทรรศการ ซึ่งประกอบด้วยระบบที่ใช้รับรู้คือ ระบบการมอง ระบบการฟัง ระบบการสัมผัสหรือรูปแบบอินเทอร์แอ็คทีฟ และภาพดิจิตอล เพื่อทวีความสำคัญยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในการดำเนินเรื่องและการบอกเล่าเรื่องราว รายละเอียดดังนี้

ภาพที่ 2 ลักษณะการใช้สื่อในนิทรรศการ ที่มา: พัชรินทร์ เพิ่มฉลาด (2557)

องค์ประกอบศิลป์สื่อมัลติมีเดียที่แสดงเรื่องราว

1) ระบบการมองเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดนิทรรศการบอกเล่าเรื่องราวด้วยภาพต่างๆ
อาจเป็นวีดิทัศน์หรือวัตถุจัดแสดงอาจเป็นของจริงหรือจำลองได้กราฟิกบอร์ดหรือ inkjet ในการแนะนำตั้งแต่เริ่มจนถึงปลายทาง

2) ระบบการฟัง ใช้เสียงประกอบเพื่อบอกเล่าบทเรื่องราวต่างๆ และความดังค่อยของเสียงจะเห็นได้ว่าเมื่อเราชมนิทรรศการต่างๆ เสียงแทรกหรือเสียงดังเกินไปทำให้รบกวนการชมได้ ดังนั้นรูปแบบการควบคุมเสียงจึงเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน

3) ระบบการสัมผัสหรือลงมือกระทำ เป็นการนำเสนอเผื่อให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในนิทรรศการ
ด้วยรูปแบบการสัมผัส โต้ตอบ

จากที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งจะเห็นว่าจากระบบการรับรู้ 3 ข้อทั้งระบบการมอง ฟัง และสัมผัสซึ่งเป็นการรับรู้จากผู้ชมงานศิลปะได้โดยสื่อมัลติมีเดีย ผ่านอุปกรณ์นำเสนอต่างๆ ทั้งวีดิทัศน์หรืออุปกรณ์ที่ให้แสงสีเสียง การสัมผัสจับต้อง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ข้อความและการปฏิสัมพันธ์จะถูกทำหน้าที่เพื่อสนับสนุนในการจัดแสดงผลงานศิลปะของศิลปินดังกล่าว

เอกสารอ้างอิง

พัชรินทร์ เพิ่มฉลาด. (2557). การใช้สื่อจัดแสดงมัลติมีเดียในงานนิทรรศการ. เอกสารประกอบการบรรยายหัวข้อมัลติมีเดียในนิทรรศการ. คณะศิลปกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทักษิณา พรบุณยาพงศ์. (2559). องค์ประกอบศิลป์สื่อมัลติมีเดียที่แสดงเรื่องราว. [ภาพถ่าย]. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ทักษิณา พรบุณยาพงศ์
ทักษิณา พรบุณยาพงศ์

Written by ทักษิณา พรบุณยาพงศ์

Asst.Prof.Dr.Thaksina Phonbunyapong สาขาวิชาที่ทำวิจัย มัลติมีเดียและภาพเคลื่อนไหว เทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารการศึกษา การออกแบบและประยุกต์ศิลป์

No responses yet