Soft power ด้วยการตลาดดิจิทัลในรูปแบบโฆษณาแฝง

โฆษณาแฝง เป็นการนำเสนอภาพผลิตภัณฑ์ หรือตราสินค้าและบริการ เข้าไปในส่วนที่เป็นเนื้อหาของเรื่อง หรือรายการ ซึ่งวิธีหนึ่งในการส่งข้อมูลสู่ผู้บริโภคฝ่านสื่อต่างๆ อย่างแนบเนียนที่สุดด้วยเหตุผลที่ว่า คนทั่วไปในงาจิตวิทยาการรับรู้เมื่อโมษณาตรงๆ คนส่วนใหญ่อาจจะไม่เปิดรับ จึงนำเสนอในลักษณะที่ไม่ให้ผู้ชมรู้ตัวหรือเลี่ยงได้ยาก จึงเป็นเทคนิคหนึ่งในกลยุทธ์การตลาด สร้างเนื้อหาเรื่องราวที่สามารถนำเสนอได้ เช่นใน ละคร สารคดี เพลง เกมโชว์ เรียลลิตี้ และภาพยนตร์ต่างๆ ซึ่งเป็นความตั้งใจของผู้ผลิตรายการและเจ้าของสินค้า

การใช้การนำเสนอในรูปแบบนี้ เพื่อส่งเสริมการขาย และผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ ในทางธุรกิจ ใช้เทคนิคโฆษณาแฝงซึ่งแตกต่างจากโฆษณาตรง คือจดมุ่งหมายที่จะ ขายสินค้า หรือบริการกันอย่างโจ่งแจ้ง ผู้บริโภคมักจะรู้ตัว และราคาค่าทำโฆษณาที่สุงกว่า โฆษณาตรง ๆนั้นมีการระบุใครเป็นผู้อุปถัมป์อย่างชัดเจนในแง่ของจิตวิทยาการรับรู้ ผู้บริโภครู้สึกอึดอัดและมีความระมัดระวังมากกว่า

วรวรรณ องค์ครุฑรักษา.(2566) นักวิชาการได้ให้ความหมาย ของ โฆษณาแฝง (Product placement) เป็นการหลอมรวมการโฆษณาและความบันเทิงเข้าด้วยกัน (Williams & Petrosky & Hernandez & Page, 2011) หรือรูปแบบของการแทรกโฆษณา เช่น การใส่ชื่อตราสินค้า ตัวสินค้า บรรจุภัณฑ์ สัญลักษณ์ และอื่น ๆ ในฐานะของการเป็นผู้สนับสนุนเข้าไปในเนื้อหาของรายการ ภาพยนตร์ ละคร หรือวิดีโอออนไลน์ต่าง ๆ ผ่านสื่อโทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์ โดยผู้บริโภคจะได้รับรู้ตราสินค้าและสินค้าไปอย่างไม่รู้ตัว (Panda, 2004) และประโยชน์ของโฆษณาแฝง การโฆษณาแฝงทำให้ผู้บริโภครู้สึกถูกคุกคามน้อยลง ซึ่งแตกต่างจากโฆษณาปกติที่ทำให้ผู้บริโภครู้สึกอยากกดข้ามหรือเปลี่ยนไปดูสิ่งอื่นแทน และเมื่อโฆษณาแฝงเป็นการบังคับให้ดูโฆษณาในอีกรูปแบบหนึ่ง ทั้งผู้บริโภครู้ตัวและไม่รู้ตัว ด้วยการทำให้โฆษณาสินค้ากลมกลืนไปกับเนื้อหา และทำให้ผู้บริโภครู้ไม่รู้สึกเบื่อหน่าย จนเกิดเป็นความสนใจในตัวสินค้าหรืออยากทดลองใช้สินค้า ประโยชน์ของโฆษณาแฝง ได้แก่ (Panda, 2004; Kureshi and Sood, 2010)

1. เพื่อสร้างการรับรู้ ความสนใจ และจูงใจ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดการรับรู้เกี่ยวกับตราสินค้ามากขึ้น และส่งเสริมให้ผู้บริโภคสามารถจดจำตราสินค้า หรือระลึกถึงตราสินค้าได้

2. เพื่อสร้างการยอมรับในตัวสินค้าผ่านช่องทางสื่อและการสื่อสาร ณ จุดขาย

3. เพื่อเปลี่ยนแปลงทัศนคติที่มีต่อสินค้า และพฤติกรรมในการซื้อสินค้าของผู้บริโภค 4. เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการซื้อสินค้า

กรณีการช่องข่าวสาธารณะอาจจะต้องระมัดระวังเรื่องโฆษณาแฝงเพราะอาจจะถูกมองว่าไม่มีความโปร่งใส หรือขัดต่อศีลธรรมวิชาชีพ ขาดจริยธรรมด้านการสื่อสารเป็นต้น

กลยุทธ์การทำโฆษณาแฝง มีลักษณะต่างๆดังนี้

1.การTie in การผูกโฆษณาเข้าไปในเนื้อหาเช่น ระหว่างรายการข่าว จะปรากฏตรา หรือสัญลักษณ์สินค้าขึ้น

2.Product Placement การนำสินค้าเข้ามาไว้ในฉาก

3. Branded Content ผนวกสินค้าเข้าไปในเนื้อหา เช่นเจ้าของแบรนด์ต่างๆรวมตัวกัน สร้างละครสั้นๆ และแฝงการโฆษณาของร้านเราเข้าไป

4. influencer ให้สินค้ามีความสัมพันธ์กับคนมีชื่อเสียง เช่น ให้รีวิวสินค้า พูดถึงคุณสมบัติของสินค้า

5.Native ad คือโฆษณาที่ปรากฏบนสื่อออนไลน์ และเกิดขึ้นพร้อมๆกับที่เราสนใจ เราจะเห็นบ่อยอันเกิดจากระบบคอมพิวเตอร์และการตั้งค่าในแอพหรือเว็บ

ดังนั้นการทำให้ลูกค้าเชื่อ ลูกค้าคิด ต้องบริหารการรับรู้ ให้เป็นไปอย่างที่เราต้องการ ด้วยพลังของ Soft power ด้วยกลยุทธ์โมษณาแฝงเหล่านี้ เพื่อให้ลูกค้าเชื่อ เปลี่ยนแปลงความคิด พฤติกรรม และเกิดภาวะอารมณ์คล้อยตามร่วมกันไปกับ สินค้าหรือบริการ ในทางตรงกันข้าม เพื่อสร้างความเข้าใจสำหรับผู้รับสื่อเท่าทันสื่อที่ไม่ดีอาจมาในรูปโฆษราแฝงเช่นกัน เพื่อให้เกิดความระมัดระวังไม่คล้อยตาม ไม่เชื่อ และสร้างความเข้าใจ ความรู้ที่เท่าทันสื่อ ในอีกแง่มุมของโฆษณาแฝงให้โทษได้ด้วยเช่นกัน

ที่มา :

https://youtu.be/n6g8ozTdS4E?si=2Nm2EEZo0b4JIxRz

http://www.chulapedia.chula.ac.th

https://www.gqthailand.com/culture/movie/article/k-dramas-impacts-on-product-placements

--

--

ทักษิณา พรบุณยาพงศ์
ทักษิณา พรบุณยาพงศ์

Written by ทักษิณา พรบุณยาพงศ์

Asst.Prof.Dr.Thaksina Phonbunyapong สาขาวิชาที่ทำวิจัย มัลติมีเดียและภาพเคลื่อนไหว เทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารการศึกษา การออกแบบและประยุกต์ศิลป์

No responses yet