แบรนด์ PIPATCHARA
กับPassionงานออกแบบนวัตกรรรมจากขยะเหลือใช้สู่แฟชั่นตลาดโลก
สำหรับโลกแห่งการออกแบบวันนี้ ซึ่งถ้าไม่พูดถึงก็คงตกเทรนด์ ในปี 2024 และ คงหนีไม่พ้น ดีไซเนอร์สาว เพชร ภิพัชรา แก้วจินดา ผู้ก่อตั้งแบรนด์ PIPATCHARA ที่นำงานออกแบบแฟชั่น ในภาพลักษณ์นวตกรรมจากขยะเหลือใช้ สู่แฟชั่นตลาดระดับโลก ในวันนี้
ซึ่งแบรนด์ PIPATCHARA มีความเป็นมาในปี 2018 คือจุดเริ่มต้นที่ คุณเพชร ภิพัชรา ได้ทำธุรกิจผลิตกระเป๋าหนังภายใต้ชื่อแบรนด์ของตนเองร่วมกับพี่สาว จิตริณี แก้วจินดา โดยคีย์หลักสำคัญที่ทั้งคู่วางแผนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ จะทำอย่างไรให้ธุรกิจแบรนด์สินค้ากระเป๋าแฟชั่น สามารถมีส่วนสนับสนุนช่วยเหลือ Community ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน เมื่อพี่ของเธอมีความรู้ในเรื่องของงาน Craft (งานศิลปะหัตกรรมที่ทำด้วยมือ) จากความชื่นชอบในงานศิลปะและยังได้ฝึกเวิร์กช็อปงานฝีมือในรูปแบบที่หลากหลาย แต่หนึ่งในนั้นก็คือ มาคราเม่ (Macrame) งานศิลปะที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอาหรับด้วยการถักเชือกหนังเส้นยาวๆ ให้ออกมาเป็นลวดลายที่สวยงามรูปแบบต่างๆ กนกวรรณ มณีแสงสาคร ,2567
และนั่นคือจุดเริ่มต้น มาคราเม่ (Macrame) ก่อนและหลังจากนั้น จึงได้มีการช่วงบุกเบิกธุรกิจระหว่าง 1–2 ปีแรก โดยคุณจิตริณี มีโอกาสได้ร่วมงานกับจิตอาสามูลนิธิสิติ โดย คุณเกรท-เสกสรร รวยภิรมย์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิ ด้วยการไปเเจกจ่ายเครื่องทำน้ำสะอาดจนเกิดเป็นชุมชนเเรกขึ้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน หลังจากนั้นเธอจึงเดินทางขึ้นเหนือเพื่อเลือกหาทีมงานซึ่งเป็นคุณครูในชุมชนจำนวน 8 คน พร้อมฝึกทักษะให้พวกเขาเหล่านั้นสามารถถักเชือกหนังเป็นไปในรูปแบบต่างๆ และยังใช้เวลาว่างสร้างรายได้เสริมเพิ่มมากขึ้น เมื่อผลงานล็อตแรกผลิตออกมาได้อย่างประณีตสวยงามตามต้องการจำนวน 30 ใบ และยังขายดีหมดเกลี้ยงภายใน 3 วัน และกลายเป็นการโฆษณาแบบบอกปากต่อปากช่วยกันซื้อในเบื้องต้น ภานหลัง เธอเห็นโอกาสที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องว่าสินค้าของเธอสามารถตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่ชื่นชอบศิลปะ รักในงานฝีมือ และตัวสินค้ายังต้องมีสตอรี่ของเรื่องราวความเป็นมาที่ดีๆ ซ่อนอยู่เบื้องหลัง กนกวรรณ มณีแสงสาคร ,2567
สำหรับผลงานชั้นถัดมา ซึ่งหลายคนคงเคยเห็น มาบ้างแล้ว นั่นคือการประกอบสินค้าวัสดุรีไซเคิลต่างๆ ภิพัชรากล่าว จะเห็นได้ว่านวัตกรรมเปลี่ยนขยะสร้างมูลค่า ถัดมาในปี 2022 PIPATCHARA มีความก้าวหน้ามากขึ้นแม้จะเพิ่งก่อตั้งธุรกิจมาได้เพียงไม่นาน โดยทางแบรนด์มีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำเทคโนโลยีนวัตกรรมหรือ Innovation มาแปลงร่างให้ขยะที่ไร้ค่าอย่าง ฝาขวด, ช้อนและกล่องพลาสติก กลายมาเป็นวัสดุรีไซเคิลเพื่อนำมาผลิตเป็นกระเป๋าและชุดเสื้อผ้าแฟชั่นจนแบรนด์เป็นเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีในวงสังคมที่กว้างมากยิ่งขึ้น กนกวรรณ มณีแสงสาคร ,2567
ซึ่งแบรนด์มีการทดลอง รวมทั้งสิ้น2ปีทั้งเรื่องทรงและสี ซึ่งเธอคิดว่าขยะส่วนใหญ่จะไปอยู่ในทะเลด้วย เลยอยากให้รูปทรงของกระเป๋ามีแนวคิดเหมือนปะการังเพื่อให้คนนึกถึงทะเล และที่จริงขยะพลาสติกจะเป็นปัญหาของบริษัทใหญ่ๆ โดยบริษัทไม่รู้ว่าจะเอาขยะพวกนี้ไปไว้ที่ไหน ฉะนั้นเธอจึงเลือกเอาพลาสติกเหล่านี้มาใช้ ซึ่งสีที่เห็นอยู่ไม่ได้ใส่สีอะไรเข้าไป เป็นสีจริงตามพลาสติก ดังนั้นขยะจากบริษัทเช่นเครื่องดื่มต่างๆ ที่เป็นฝาขวดและภาชนะที่มีสีสันต่างๆ ก็ถูกนำมาผสมกับสีใสจากช้อนส้อมพลาสติก ทัพเพอร์แวร์ ทำให้กลายเป็นเฉดสีหลากหลายของกระเป๋าซึ่งจะขึ้นอยู่กับสีจริงของขยะในช่วงเวลานั้นๆ เธอกล่าวว่า“สิ่งที่ชอบที่สุดคือเวลาปั๊มออกมา พลาสติกแต่ละชิ้นไม่มีทางมีทรงเหมือนกันและการกระจายของสีจะไม่เท่ากันเลย บางส่วนจะมีความใส บางส่วนจะมีเม็ดสีเข้มกว่า เวลาอยู่ในแสงมันก็จะสะท้อนต่างกันนิดนึง หลายครั้งจะมีคนถามเราว่าไปคอลแล็บหรือสปอนเซอร์กับแบรนด์อะไรหรือเปล่า แต่เราเลือกทุกบริษัทที่ทำงานด้วยในตอนแรกจากสีของขยะจริงๆ จนกระทั่งวันเปิดตัวคอลเลกชั่น เราถึงค่อยชวนแบรนด์ต่างๆ มาดูว่าสินค้าของเขาอยู่ในดีไซน์ของเรา แล้วถึงค่อยมีการคอลแล็บกับแบรนด์ตามมาอย่างแบรนด์สิงห์” ริต้า มนตรีวัต, 2566
และ ในปี2024 ผลงานอัพไซเคิล (Upcycle) ของดีไซเนอร์ไทยแบรนด์ Pipatchara สร้างคาวมฮือฮาสะกดทุกสายตาศิลปินดังระดับโลกสายเลือดไทย “ลิซ่า-ลลิษา มโนบาล” ใส่ชุดไปร่วมงานปาร์ตี้ระดับโลก สวมใส่ชุดเดรสผลงานอัพไซเคิลของดีไซเนอร์ไทยจากแบรนด์ Pipatchara เข้าร่วมงานปาร์ตี้ Tag Heuer บนเรือยอชต์ที่จัดขึ้นในโมนาโก ยิ่งทำให้มูลค่าของแบรนด์เพิ่มขึ้นอีก
สำหรับแนวคิดทางธุรกิจนั้น Place Go Inter to Fashion Capital PIPATCHARA เริ่มจากการขายผ่านช่องทางออนไลน์ล้วนทั้งในเว็บไซต์และอินสตาแกรม โดยไม่มีช่องทางออฟไลน์เลยในตอนแรก ต่อมาพบตลาดต่างประเทศในฝั่งยุโรป ญี่ปุ่น ก่อนจะขยายไปหลายประเทศอย่างดูไบและสิงคโปร์“ถ้าเข้าเว็บไซต์ก็จะไม่มีขอบเขตในการขาย และสามารถขยายได้หลายประเทศ กรณีโควิด-19 ถือว่าแบรนด์พบโอกาสลูกค้าไทยสูงถึง 80% และเมืองนอก 20% โดยช่องทางออนไลน์ต่างๆ ริต้า มนตรีวัต, 2566
นอกจากนี้และสุดท้ายสิ่งสำคัญที่ทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักและมีมูลค่าคือการเล่าเรื่อง“จุดที่ทำให้คนรู้จักคือโดยรวมในทุกอย่างที่เราทำ แต่สิ่งที่เน้นที่สุดคือ communication (การสื่อสารข้อมูลข่าวสาร) เช่น ที่ผ่านมาคนรู้จักแฟชั่นพลาสติกจากการบอกปากต่อปากมากกว่ารู้จักจากอินฟลูเอนเซอร์” อีเวนต์เปิดตัวคอลเลกชั่นใหม่เป็นสื่อที่แบรนด์ใช้เล่าเรื่องอย่างงานเปิดตัวของคอลเลกชั่น Infinitude “ตอนนั้นเราทำป็อปอัพให้เป็นเหมือนทะเลทรายแล้วมีขยะบนพื้นเพื่อให้คนเข้าใจว่าเอาขยะมาทำความสะอาดกลายเป็นกระเป๋า” “ส่วนใหญ่อีเวนต์เกิดจากการที่เรามีข้อมูลมากเกินไปและต้องการบอกให้คนอื่นรับรู้ เช่น เรามีคอลเลกชั่นใหม่ ซึ่งต้องการการอธิบายค่อนข้างเยอะทั้งเรื่องของสีและกระบวนการทำ การที่มีอีเวนต์คือการบอกข่าวสารข้อมูลของเราออกไป และสุดท้ายในการขยายช่องทางการขายสำหรับงานดีไซน์ คือการร่วมงานแฟร์ด้านแฟชั่นและดีไซน์ระดับโลก โดยล่าสุด PIPATCHARA เดินทางไปงาน Dubai fashion week “fashion capital ในโลกนี้มีประมาณ 5 ประเทศ คือมิลาน, นิวยอร์ก, ลอนดอน, ปารีส ส่วนดูไบเป็นศูนย์รวมในฝั่งเอเชียและอาหรับทั้งหมด ในงานแฟชั่นวีคจะมีองค์กรแฟชั่นมาดูว่าจะซัพพอร์ตดีไซเนอร์เป็นต้น ริต้า มนตรีวัต ,2566
นอกจากนี้เธอยังให้แนวคิดเรื่องการตลาดที่น่าสนใจอยุ่ 2 ประเด็น
1 ด้านการสร้างโอกาส เธอกล่าวว่า เพชรทำคอลเลกชั่นชุดโอต์กูตูร์ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ โดยในปีนี้ไปดูไบแฟชั่นวีคเป็นครั้งที่ 2 ในช่วงแฟชั่นวีค PIPATCHARA จะเปิดป๊อปอัพโชว์รูมเฉพาะช่วงนั้นในประเทศนั้นๆ เพื่อดึงดูดลูกค้าที่มาดูงานดีไซน์จากทั่วโลก เช่น ที่ปารีส “ซึ่ง การที่เราเปิดโชว์รูมที่ต่างประเทศเพื่อที่จะบอกว่าเราเป็น international brand และเราสามารถมาเปิดขายที่นี่ได้ ช่วงแฟชั่นวีคคนจะต้องรวมตัวกันอยู่ที่นั่น ข้อดีคือมีคนทั่วโลกเข้ามาให้ความสนใจ แต่กำลังซื้อที่สูงจะอยู่ที่คนบางกลุ่มเช่นคนจากฝั่งอเมริกาและตะวันออกกลางมากกว่ายุโรป”
2.การกำหนดราคาสินค้า
สำหรับเพชรหลักคิดในการตั้งราคาคือการอิงราคาตลาด โดยเฉพาะตลาดอินเตอร์ เธอกล่าวว่า “ถ้าเราอยู่แค่ตลาดไทยในตอนแรก เวลาขายกระเป๋าในไทย ราคาที่ขายได้ง่ายๆ จะอยู่ที่ประมาณ 8,000–9,000 บาท แต่เวลาไปตลาดเมืองนอกและเอาไปตั้งเทียบกับแบรนด์อื่นๆ ห้างและลูกค้าจะเปรียบเทียบว่าราคาของเราน้อยกว่าหรือเยอะกว่าแบรนด์อื่น พอกระเป๋าเราราคาถูกกว่าคนอื่นเยอะ ในมุมมองของห้างที่ต่างประเทศก็จะไม่รู้ว่าควรเอากระเป๋าเราไปตั้งไว้ตรงไหน เขาก็จะมองว่าทำไมแบรนด์เราถูกกว่า สมมติว่ากระเป๋าของเราใช้หนังทั้งใบแต่แบรนด์อื่นที่แพงกว่าใช้ผ้าแคนวาสทั้งใบ ก็จะเกิดคำถามว่าทำไมแบรนด์เราถึงขายราคาแค่นี้ ใช่หนังร้อยเปอร์เซ็นต์หรือเปล่า การตั้งราคาจึงขึ้นอยู่กับว่าคนข้างเราคือใครด้วย“เราจึงต้องดูตั้งแต่แรกว่าเราจะอยู่ตรงไหนในตลาด จะอยู่ระดับแมส กึ่ง luxury หรือ luxury ไปเลย ราคาก็จะปรับตามโพซิชั่นของแบรนด์ ส่วนตัวอยากทำกระเป๋าที่มีดีไซน์พิเศษของตัวเองที่คนสามารถเก็บตังค์แล้วซื้อได้ ไม่แพงเกินไปแต่ก็ไม่ได้ถูกเกินไปจนลดคุณค่าของมัน” ทั้งนี้เพชรบอกว่าเวลาธุรกิจเติบโตขึ้นก็หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงด้านราคาไม่ได้เพราะโพซิชั่นของแบรนด์ก็ต้องเติบโตขึ้น“ตอนแรกที่เริ่มขายกระเป๋าราคาอยู่ที่ 8,000–9,000 ตอนนี้จะขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาทในตัวเดียวกัน ซึ่งตอนนี้แบรนด์กำลังเข้าปีที่ 5 แล้ว ด้วยวิธีการทำสินค้าที่เราทำออกมาทำให้เรนจ์ของแบรนด์เราตอนนี้จะขึ้นไปถึงเกือบๆ luxury แล้ว บางอย่างเราก็ไม่ได้อยากขายราคานั้น แต่ด้วยสังคมและตลาดเป็นแบบนั้น ก็ต้องนำราคาตลาดมาพิจารณาด้วย” โดยกระเป๋าที่ทำจากวัสดุพลาสติกรีไซเคิล 1 ใบ มีราคาขายอยู่ที่ราวๆ 21,900–30,000 บาท ขณะที่ชุดเดรสยาวจะมีการใช้ฝาพลาสติกมาผลิตเทียบเท่ากับใช้ฝาทำกระเป๋าจำนวน 7–10 ใบ มีราคาขายสูงขึ้นไปอีกอยู่ที่ชุดละ 50,000–200,000 บาท ริต้า มนตรีวัต ,2566
ปัจจุบันมีโชว์รูมถาวรที่ 111 ประดิษฐ์มนูธรรม ร้านสยามดิสคัฟเวอรี่และเซ็นทรัลชิดลม การจัดร้านจะเน้นการทำร้านป๊อปอัพโดยเปลี่ยนคอนเซปต์และสถานที่ไปเรื่อยๆ เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นไอเดียของแบรนด์ในแต่ละคอลเลกชั่น ต่างๆ และแบรนด์พัฒนาคอลเลคชั่นใหม่อยู่ตลอดเวลา
แม้ว่า PIPATCHARA จะเป็นแบรด์ชื่อไทยๆ แต่วันนี้ก็พิสูจน์แล้วว่า การนำแบรนด์ไปอยู่ที่ต่างประเทศทำให้ผลงานของสินค้าโดดเด่นกว่าเชื้อชาติของแบรนด์“หักล้างแนวคิดที่ว่า การใช้แบรนด์เป็นชื่อไทยจะทำให้ยากขึ้นในการไปอีก หรือแนวคิดที่ว่าคนจะไม่เข้าใจเรื่องราคาหรือลำบากในการจำชื่อยาวๆ หรือ แนวคิดที่ว่า ต้องไปสร้างแบรนด์ที่เมืองนอกแล้วทำให้มันง่าย แต่ในที่สุดแล้ววันนี้คนไม่ได้สนใจว่าเธอจะชื่ออะไร ซึ่งงานของเธอชัดกว่าชื่อ และคิดว่ามันดีกว่าที่คนจำเราได้จากชิ้นงานของเรา ไม่ได้มองว่าเป็นแบรนด์ไทยหรือแบรนด์นอก” ริต้า มนตรีวัต ,2566
แบรนด์ของ PIPATCHARA เป็นผลงานการร่วมมือกันระหว่าง PIPATCHARA และ Jittrinee พี่สาวของเธอ ทั้งสองมีความหลงใหลในงานศิลปะและงานฝีมือ โดยเฉพาะเทคนิคการทำ “มาคราเม่” ซึ่งเป็นงานผ้าที่เน้นความสวยงามโดยใช้เทคนิคการผูกปม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจหลักสำหรับคอลเล็กชั่นแรก การเปิดตัวครั้งนี้ถือเป็นตัวอย่างของการผสมผสานระหว่างการออกแบบแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย โดยรูปแบบดังกล่าวต้องใช้ฝีมือ 100% กระเป๋าแต่ละใบทำขึ้นอย่างประณีตเพื่อแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของรูปแบบที่ทอด้วยมือ จับคู่กับหนังคุณภาพที่คัดสรรมาอย่างดีเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะ และโดงดังที่สุดคือคอลเลคชั้น จากชุดรักษ์โลกด้วยฝาขวดที่ลิซ่าใส่ มีความเป็นMassและ Uniquely ซึ่งแบรนด์มีการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำเทคโนโลยีนวัตกรรมหรือ Innovation มาแปลงร่างให้ขยะที่ไร้ค่าอย่าง ฝาขวด, ช้อนและกล่องพลาสติก กลายมาเป็นวัสดุรีไซเคิลเพื่อนำมาผลิตเป็นกระเป๋าและชุดเสื้อผ้าแฟชั่นจนแบรนด์เป็นเริ่มเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีในวงสังคมที่กว้างมากยิ่งขึ้น
ที่มา :
https://www.nationtv.tv/gogreen/378944388
https://capitalread.co/pipatchara/Promotion Storytelling for Fashion Community